วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย


ยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย
                ยุงก้นปล่องจัดอยู่ใน Subfamily Anophelinae ลักษณะที่สำคัญระยะตัวเต็มวัยคือ ส่วน
palpi ยาวเท่ากับงวงปาก (proboscis) เวลาเกาะพักจะมีลำตัวตั้งเป็นเส้นตรง ระยะลูกน้ำเวลาลอย
ตัวจะขนานไปกับผิวน้ำ เนื่องจากไม่มีท่อหายใจ ยุงในกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 72
ชนิด แต่ที่มีรายงานว่าเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียได้แก่
                Anopheles minimus ชอบวางไข่ตามลำธารน้ำใสไหลเอื่อยๆ มีหญ้าปกคลุมและมีแสง
แดดส่องถึง ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์ เวลากลางวันจะเกาะพักตามฝาบ้าน ตามมุมมืด
พบได้  ทั่วทุกภาคของประเทศ
                Anopheles dirus ชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำขังเช่นหลุมบ่อ รอยเท้าสัตว์ซึ่งอยู่ในที่ร่มทึบ
ชอบกัดคน พบหากินตั้งแต่พลบค่ำและชุกชุมมากในเวลาดึก ออกหากินทั้งในบ้านและนอกบ้าน
เวลากลางวันชอบพักอาศัยนอกบ้าน พบตามป่าทึบทุกภาคของประเทศ
                Anopheles maculatus ชอบวางไข่ในแหล่งน้ำคล้ายของ An. minimus พบทุกภาคของ
ประเทศ แต่มีบทบาทในการแพร่โรคเฉพาะท้องที่ภาคใต้ของประเทศ ชอบกัดทั้งคนและสัตว์ ออก
หากินตั้งแต่พลบค่ำทั้งในบ้านและนอกบ้าน
                Anopheles sundaicus พบตามเกาะต่าง ๆ ชอบวางไข่ในน้ำกร่อยตามแอ่งหินริมทะเล
ชอบกัดคนและสัตว์ ออกหากินตั้งแต่พลบค่ำทั้งในบ้านและนอกบ้าน พบกระจายอยู่ทุกภาคของ
ประเทศ                 และมียุงก้นปล่องบางชนิดที่สงสัยว่าอาจจะเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทยได้
แก่ An. campestris, An. philippinensis และ An. culicifacies เป็นต้น
ความสำคัญทางการแพทย์
                ยุงบางชนิดในกลุ่มยุงก้นปล่องนี้จัดเป็นยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อพลาสโม
เดียม (Plasmodium) สำหรับที่พบในประเทศมี 4 ชนิด คือ P. vivox, P. ovale, P. falcipaum และ
P. malariae เมื่อยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะได้รับเชื้อพลาสโมเดียมจากการกัดกินเลือดผู้ป่วยโรค
มาลาเรีย หลังจากนั้นประมาณ 7 - 20 วัน ยุงก้นปล่องพาหะนี้ ก็พร้อมที่จะถ่ายเชื้อพลาสโมเดียม
แก่คนที่ถูกกัดกินเลือดต่อไป ซึ่งเชื้อพลาสโมเดียมนี้จะคงอยู่ในตัวยุงก้นปล่องพาหะนี้ ตลอดอายุขัย
ประมาณ  1 - 3 เดือน
 วงจรชีวิตและอุปนิสัยของยุงก้นปล่อง
                ยุงก้นปล่องมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) มี 4 ระยะคือ
ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 2 วัน ระยะลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 15 -16 วัน ระยะตัวโม่งใช้เวลา
ประมาณ 3 - 4 วัน ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย หลักจากลอกคราบประมาณ 24 ซม. ก็จะจับคู่
ผสมพันธุ์ จากนั้นตัวเมียก็ไปกัดกินเลือดเพื่อนำมาสร้างไข่ โดยจะวางไข่เป็นฟองเดียว ๆ บนผิวน้ำ
ขณะที่บินเรี่ย ๆ หรือลอยตัวบนผิวน้ำ วางไข่ครั้งละ 150 - 200 ใบ ตลอดอายุขัยของตัวเมีย
ประมาณ 3 เดือน วางไข่ได้  3 ครั้ง โดยชอบวางไข่ในน้ำใส่, แหล่งน้ำไหล, ลำธาร, เองน้ำตามโขด
หิน ซึ่งจะขึ้นกับอุปนิสัยของยุงก้นปล่องชนิดนั้น ๆ ช่วงเวลาการหากินของยุงก้นปล่องตัวเมียหากิน
เลือดเวลากลางคืน ตอนกลางวันชอบเกาะพักตามพุ่มไม้ ยุงก้นปล่องมีความสามารถในการบิน
โดยปกติจะบินได้ไกลประมาณ   3 ก.ม.
การป้องกันกำจัด ยุงก้นปล่อง
                1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่การถากถางริมลำธารให้กระแสน้ำไหลได้เร็ว กลมถม
แหล่งน้ำที่ไม่ประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมนี้ประชาชนในพื้นที่สามารถร่วมดำเนินการ
                2. การควบคุมระยะลูกน้ำ ซึ่งมีวิธีการควบคุมหลายวิธี ซึ่งขึ้นกับความเหมาะสมหรือความ
จำเป็น  การใช้การปล่อยปลากินลูกน้ำในแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่อง เช่นปลาหางนกยูง, ปลา
แกมบูเซีย, การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น Bacillus Thuringiensis กำจัดลูกน้ำซึ่งสารจุลินทรีย์นี้จะมีผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพราะจะไปฆ่าเฉพาะลูกน้ำยุงปลาหรือสัตว์มีชีวิตชนิดอื่นจะไม่เป็น
อันตราย, การใช้สารเคมี เช่น abate
                3. การควบคุมระยะตัวเต็มวัย ในการพ่นเคมีที่มีฤทธิ์ตกต้างตามฝาผนังบ้านเรือน เพื่อตัด
วงจรการแพร่เชื้อของยุงก้นปล่อง โดยใช้สารเคมี เช่น DDT เฟนิโทรไธออน ซึ่งดำเนินการโดยกอง
มาลาเรีย, การชุบมุ้งด้วยสารไพรีทรอย
                4. การให้สุขศึกษา ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองจากการกัดของยุงก้นปล่อง เมื่อเข้า
ไปในเขตที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย เช่น นอนในมุ้ง, ใช้ยาทากันยุง, การกินยาป้องกัน เป็นต้น
ตลอดจน เมื่อสงสัยว่าเป็นไข้มาลาเรียให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารสุข หรือมาลาเรียคลีนิค

ความรู้ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก
 

                สำหรับในประเทศยุงพาหะที่นำโรคไข้เลือดออก มียุงลายชนิด Aedes aegypti ซึ่งเป็น
พาหะหลักที่สำคัญ และยุงลายชนิด Aedes albopictus ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา ลักษณะที่ใช้
จำแนกยุงลายชนิด Ae. aegypti คือ ด้านหลังของส่วนอกมีเกล็ดขาวลักษณะคล้ายเคียว ความสำคัญทางการแพทย์
                ยุงลายทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมีถึง 4 แบบ
เมื่อยุงลายไปกัดผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคนี้ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมีระยะฟักตัวในตัวยุง(extrinsic
incubation) ประมาณ 8-10 วัน ยุงลายนี้ก็พร้อมจะถ่ายเชื้อไวรัสแก่คนต่อไปเมื่อไปกัดกินเลือด
โดยเชื้อไวรัสนี้จะอยู่ไปตลอดอายุขัยของยุงลายประมาณ 1- 3 เดือน ประกอบกับมีการศึกษาพบว่า    
ยุงลายนี้สามารถนำเชื้อไวรัสผ่านทางไข่ได้
วงจรชีวิตและอุปนิสัยของยุงลาย
                มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) มี 4 ระยะ คือระยะไข่ ใช้
เวลาประมาณ 1 - 2 วัน  แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมไข่ของยุงลายสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้
ถึง     1 ปี เมื่อมีน้ำก็สามารถฟักเป็นลูกน้ำได้ ระยะลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 6 - 10 วัน ระยะตัวโม่ง
ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วัน ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย หลักจากลอบคราบประมาณ  24  ชม.  ก็
จะจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งยุงจะมีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว ตัวเมียก็จะไปกัดกินเลือดเพื่อนำมาสร้าง
ไข่, ตัวผู้ก็จะกินน้ำหวาน โดยที่ยุงลายตัวเมียชอบกัดกินเลือดคน มีระยะการตั้งท้องประมาณ 3 วัน
โดยจะวางไข่ติดแน่นกับด้านข้างของภาชนะเหนือระดับน้ำ วางไข่ครั้งละประมาณ 100 - 140 ฟอง
ตลอดอายุขัยสามารถวางไข่ได้  3 ครั้ง โดยชอบที่วางไข่ในน้ำสะอาดในภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่า
นั้น     เช่น ตุ่ม, โอ่ง, แจกัน, ถังซีเมนต์, จานรองขาตู้กันมด, กะลา, กระป๋อง, ยางรถยนต์  เป็นต้น        
ช่วงเวลาการหากินของยุงตัวเมียหากัดกินเลือดคนเวลากลางวัน สำหรับแหล่งเกาะพักชอบเพาะ
พักตามสิ่งห้อยแขวน  เช่น  เสื้อผ้า, มุ้ง  เป็นต้น ยุงลายเป็นยุงที่ไม่มีนิสัยบินไกลพบว่ามีรัศมีการบิน
ไม่เกิน 100 เมตร
การป้องกันกำจัดยุงลาย
                เนื่องจากยุงลายมีแหล่งเพาะพันธ์ภายในบ้านเรือน คงเป็นไปได้ยากที่จะให้เจ้าหน้าที่ของ
รัฐเข้าไปควบคุมได้ทุกบ้านเรือน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ประชาชนต้อร่วมมือกันในการควบคุมยุง
ลาย ก่อนที่ยุงลายจะเพิ่มจำนวนก่อให้เกิดจากระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ จากการคำนวณพบ
ว่าเพียง 100 วัน จากยุงลายตัวเมีย 1 ตัว สามารถเพิ่มลูกหลานยุงลายเป็นจำนวนถึง 9,537 ตัว
สำหรับวิธีการควบคุมยุงลายจะแน่นไปที่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ดังวิธีการต่อไปนี้
                1. การควบคุมระยะลูกน้ำ
                   1.1 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่จำเป็น โดยการทำลายทิ้งภาชนะที่ไม่ใช้ เช่น กะลา,
                        เศษแก้ว, เศษขยะที่ขังน้ำ เป็นต้น
                   1.2 สำหรับภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเรือน เช่น ตุ่มน้ำ ควรมีฝาปิด และหมั่นหมุนเวียร
                        เปลี่ยนถ่ายน้ำ, สำหรับตุ่มน้ำที่นาน ๆ ใช้ควรใช้ผ้าพลาสติกปิด หรือใช้ตาข่าย
                        ไนลอนปิด, สำหรับจานรองขาตู้, แจกัน ควรเปลี่ยนน้ำให้บ่อย หรืออาจใส่เกลือลง
                        ในจานรองขาตู้
                   1.3 อาจใช้สารกำจัดลูกน้ำเมื่อมีความจำเป็นเช่น abate, จุลินทรีย์ฆ่าลูกน้ำ เช่น  BTI
                   1.4 ใช้ปลาหางนกยูง , ลูกน้ำยุงยักษ์ ใส่ในภาชนะขังน้ำต่าง ๆ เพื่อกินลูกน้ำ
                2. การควบคุมตัวเต็มวัย
                   2.1 สำหรับสภาพแวดล้อมในบ้านเรือน โดยทำความสะอาดเก็บเสื้อผ้าสิ่งห้อยแขวน
                        ต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเกาะพักของยุงลาย
                   2.2 ตบหรือตีให้ตายขณะบินหรือมาเกาะกัด
                   2.3 ใช้ผลิตภัณฑ์เคมีพ่นที่ใช้ในบ้านเรือน  เช่น  กระป๋องฉีดพ่นฆ่าแมลงที่ขายในท้อง
                        ตลาดโดยเลือกชนิดที่ใช้กับยุงหรือแมลงบิน  พ่น และปิดห้องทิ้งไว้ประมาณ
                        30 นาที แล้วค่อยเช็ดทำความสะอาดห้อง

                   2.4 สำหรับการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการพ่นหมอกควันและการพ่น
                        ละอองฝอย โดยใช้สารเคมีพวก malathion , permethrin

ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมา
ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.1 จังหวัดพิษณุโลก
เดิมชื่อ หน่วยมาลาเรียที่ 4  จังหวัดพิษณุโลก  ตั้งอยู่ที่ถนนพระองค์ดำ ตำบลในเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานโครงการกำจัดไข้มาลาเรีย  มีพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย
            ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น  หน่วยมาลาเรียที่  24  พิษณุโลก และในปี พ.ศ.2521 ถึงปี พ.ศ.2534 ได้ย้ายมาอยู่ที่  ถนนเอกาทศรฐ (สี่แยกประตูมอญ)
            ต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2534 ได้ย้ายมาอยู่ที่ 318  หมู่  5  ตำบลหัวรอ  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก  และเปลี่ยนชื่อเป็น  ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 24 จังหวัดพิษณุโลก   และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.1 จังหวัดพิษณุโลก ในเวลาต่อมา  
            ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.1 จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่รับผิดชอบ  3 จังหวัดด้วยกันคือ  จังหวัดพิษณุโลก  จังหวัดอุตรดิตถ์  จังหวัดสุโขทัย รับผิดชอบงาน  เฝ้าระวัง  ป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง  และภัยสุขภาพ




ทำเนียบผู้บริหาร
1.    นายสุ่ม                       อุณนนันท์                  ปี  2504 – 2509
2.    นายประณีต              ใจทหาร                       ปี  2509 – 2511
3.    นายสิงห์แก้ว             ทายะติ                        ปี  2511 – 2518
4.    นายนิทัศน์                 รัตตนิทัศน์                 ปี  2518 – 2521
5.    นายประทีป               กลีบเมฆ                    ปี  2521 – 2528
6.    นายมนัส                    ธรรมจินดา                ปี  2528 – 2531
7.    นายสมพงษ์              วัชรกุลปรีชาชาติ      ปี  2531 – 2536
8.    นายประจักษ์             ปานขาว                    ปี  2536 – 2537
9.    นายเชื้อ                      สดเอี่ยม                     ปี  2537 – 2539
10.  นายพิชัย                    เพียรไพรงาน            ปี  2539 – 2540
11.  นายประสิทธิ์            แสงคล้อย                 ปี  2540 – 2541
12.  นายประเสริฐ            ขยา                            ปี  2541 – 2546
13.  นายทอง                     เอี่ยมสำอางค์           ปี  2546 – 2549
14.  นายสวัสดิ์                 จันทร์คำ                    ปี  2549 –  2555
15.  นายจีระศักดิ์               ทัพผา                   ปี  2555 – ปัจจุบัน