วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก
 

                สำหรับในประเทศยุงพาหะที่นำโรคไข้เลือดออก มียุงลายชนิด Aedes aegypti ซึ่งเป็น
พาหะหลักที่สำคัญ และยุงลายชนิด Aedes albopictus ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา ลักษณะที่ใช้
จำแนกยุงลายชนิด Ae. aegypti คือ ด้านหลังของส่วนอกมีเกล็ดขาวลักษณะคล้ายเคียว ความสำคัญทางการแพทย์
                ยุงลายทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมีถึง 4 แบบ
เมื่อยุงลายไปกัดผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคนี้ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมีระยะฟักตัวในตัวยุง(extrinsic
incubation) ประมาณ 8-10 วัน ยุงลายนี้ก็พร้อมจะถ่ายเชื้อไวรัสแก่คนต่อไปเมื่อไปกัดกินเลือด
โดยเชื้อไวรัสนี้จะอยู่ไปตลอดอายุขัยของยุงลายประมาณ 1- 3 เดือน ประกอบกับมีการศึกษาพบว่า    
ยุงลายนี้สามารถนำเชื้อไวรัสผ่านทางไข่ได้
วงจรชีวิตและอุปนิสัยของยุงลาย
                มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) มี 4 ระยะ คือระยะไข่ ใช้
เวลาประมาณ 1 - 2 วัน  แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมไข่ของยุงลายสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้
ถึง     1 ปี เมื่อมีน้ำก็สามารถฟักเป็นลูกน้ำได้ ระยะลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 6 - 10 วัน ระยะตัวโม่ง
ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วัน ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย หลักจากลอบคราบประมาณ  24  ชม.  ก็
จะจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งยุงจะมีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว ตัวเมียก็จะไปกัดกินเลือดเพื่อนำมาสร้าง
ไข่, ตัวผู้ก็จะกินน้ำหวาน โดยที่ยุงลายตัวเมียชอบกัดกินเลือดคน มีระยะการตั้งท้องประมาณ 3 วัน
โดยจะวางไข่ติดแน่นกับด้านข้างของภาชนะเหนือระดับน้ำ วางไข่ครั้งละประมาณ 100 - 140 ฟอง
ตลอดอายุขัยสามารถวางไข่ได้  3 ครั้ง โดยชอบที่วางไข่ในน้ำสะอาดในภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่า
นั้น     เช่น ตุ่ม, โอ่ง, แจกัน, ถังซีเมนต์, จานรองขาตู้กันมด, กะลา, กระป๋อง, ยางรถยนต์  เป็นต้น        
ช่วงเวลาการหากินของยุงตัวเมียหากัดกินเลือดคนเวลากลางวัน สำหรับแหล่งเกาะพักชอบเพาะ
พักตามสิ่งห้อยแขวน  เช่น  เสื้อผ้า, มุ้ง  เป็นต้น ยุงลายเป็นยุงที่ไม่มีนิสัยบินไกลพบว่ามีรัศมีการบิน
ไม่เกิน 100 เมตร
การป้องกันกำจัดยุงลาย
                เนื่องจากยุงลายมีแหล่งเพาะพันธ์ภายในบ้านเรือน คงเป็นไปได้ยากที่จะให้เจ้าหน้าที่ของ
รัฐเข้าไปควบคุมได้ทุกบ้านเรือน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ประชาชนต้อร่วมมือกันในการควบคุมยุง
ลาย ก่อนที่ยุงลายจะเพิ่มจำนวนก่อให้เกิดจากระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ จากการคำนวณพบ
ว่าเพียง 100 วัน จากยุงลายตัวเมีย 1 ตัว สามารถเพิ่มลูกหลานยุงลายเป็นจำนวนถึง 9,537 ตัว
สำหรับวิธีการควบคุมยุงลายจะแน่นไปที่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ดังวิธีการต่อไปนี้
                1. การควบคุมระยะลูกน้ำ
                   1.1 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่จำเป็น โดยการทำลายทิ้งภาชนะที่ไม่ใช้ เช่น กะลา,
                        เศษแก้ว, เศษขยะที่ขังน้ำ เป็นต้น
                   1.2 สำหรับภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเรือน เช่น ตุ่มน้ำ ควรมีฝาปิด และหมั่นหมุนเวียร
                        เปลี่ยนถ่ายน้ำ, สำหรับตุ่มน้ำที่นาน ๆ ใช้ควรใช้ผ้าพลาสติกปิด หรือใช้ตาข่าย
                        ไนลอนปิด, สำหรับจานรองขาตู้, แจกัน ควรเปลี่ยนน้ำให้บ่อย หรืออาจใส่เกลือลง
                        ในจานรองขาตู้
                   1.3 อาจใช้สารกำจัดลูกน้ำเมื่อมีความจำเป็นเช่น abate, จุลินทรีย์ฆ่าลูกน้ำ เช่น  BTI
                   1.4 ใช้ปลาหางนกยูง , ลูกน้ำยุงยักษ์ ใส่ในภาชนะขังน้ำต่าง ๆ เพื่อกินลูกน้ำ
                2. การควบคุมตัวเต็มวัย
                   2.1 สำหรับสภาพแวดล้อมในบ้านเรือน โดยทำความสะอาดเก็บเสื้อผ้าสิ่งห้อยแขวน
                        ต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเกาะพักของยุงลาย
                   2.2 ตบหรือตีให้ตายขณะบินหรือมาเกาะกัด
                   2.3 ใช้ผลิตภัณฑ์เคมีพ่นที่ใช้ในบ้านเรือน  เช่น  กระป๋องฉีดพ่นฆ่าแมลงที่ขายในท้อง
                        ตลาดโดยเลือกชนิดที่ใช้กับยุงหรือแมลงบิน  พ่น และปิดห้องทิ้งไว้ประมาณ
                        30 นาที แล้วค่อยเช็ดทำความสะอาดห้อง

                   2.4 สำหรับการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการพ่นหมอกควันและการพ่น
                        ละอองฝอย โดยใช้สารเคมีพวก malathion , permethrin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น