วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย


ยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย
                ยุงก้นปล่องจัดอยู่ใน Subfamily Anophelinae ลักษณะที่สำคัญระยะตัวเต็มวัยคือ ส่วน
palpi ยาวเท่ากับงวงปาก (proboscis) เวลาเกาะพักจะมีลำตัวตั้งเป็นเส้นตรง ระยะลูกน้ำเวลาลอย
ตัวจะขนานไปกับผิวน้ำ เนื่องจากไม่มีท่อหายใจ ยุงในกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 72
ชนิด แต่ที่มีรายงานว่าเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียได้แก่
                Anopheles minimus ชอบวางไข่ตามลำธารน้ำใสไหลเอื่อยๆ มีหญ้าปกคลุมและมีแสง
แดดส่องถึง ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์ เวลากลางวันจะเกาะพักตามฝาบ้าน ตามมุมมืด
พบได้  ทั่วทุกภาคของประเทศ
                Anopheles dirus ชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำขังเช่นหลุมบ่อ รอยเท้าสัตว์ซึ่งอยู่ในที่ร่มทึบ
ชอบกัดคน พบหากินตั้งแต่พลบค่ำและชุกชุมมากในเวลาดึก ออกหากินทั้งในบ้านและนอกบ้าน
เวลากลางวันชอบพักอาศัยนอกบ้าน พบตามป่าทึบทุกภาคของประเทศ
                Anopheles maculatus ชอบวางไข่ในแหล่งน้ำคล้ายของ An. minimus พบทุกภาคของ
ประเทศ แต่มีบทบาทในการแพร่โรคเฉพาะท้องที่ภาคใต้ของประเทศ ชอบกัดทั้งคนและสัตว์ ออก
หากินตั้งแต่พลบค่ำทั้งในบ้านและนอกบ้าน
                Anopheles sundaicus พบตามเกาะต่าง ๆ ชอบวางไข่ในน้ำกร่อยตามแอ่งหินริมทะเล
ชอบกัดคนและสัตว์ ออกหากินตั้งแต่พลบค่ำทั้งในบ้านและนอกบ้าน พบกระจายอยู่ทุกภาคของ
ประเทศ                 และมียุงก้นปล่องบางชนิดที่สงสัยว่าอาจจะเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทยได้
แก่ An. campestris, An. philippinensis และ An. culicifacies เป็นต้น
ความสำคัญทางการแพทย์
                ยุงบางชนิดในกลุ่มยุงก้นปล่องนี้จัดเป็นยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อพลาสโม
เดียม (Plasmodium) สำหรับที่พบในประเทศมี 4 ชนิด คือ P. vivox, P. ovale, P. falcipaum และ
P. malariae เมื่อยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะได้รับเชื้อพลาสโมเดียมจากการกัดกินเลือดผู้ป่วยโรค
มาลาเรีย หลังจากนั้นประมาณ 7 - 20 วัน ยุงก้นปล่องพาหะนี้ ก็พร้อมที่จะถ่ายเชื้อพลาสโมเดียม
แก่คนที่ถูกกัดกินเลือดต่อไป ซึ่งเชื้อพลาสโมเดียมนี้จะคงอยู่ในตัวยุงก้นปล่องพาหะนี้ ตลอดอายุขัย
ประมาณ  1 - 3 เดือน
 วงจรชีวิตและอุปนิสัยของยุงก้นปล่อง
                ยุงก้นปล่องมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) มี 4 ระยะคือ
ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 2 วัน ระยะลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 15 -16 วัน ระยะตัวโม่งใช้เวลา
ประมาณ 3 - 4 วัน ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย หลักจากลอกคราบประมาณ 24 ซม. ก็จะจับคู่
ผสมพันธุ์ จากนั้นตัวเมียก็ไปกัดกินเลือดเพื่อนำมาสร้างไข่ โดยจะวางไข่เป็นฟองเดียว ๆ บนผิวน้ำ
ขณะที่บินเรี่ย ๆ หรือลอยตัวบนผิวน้ำ วางไข่ครั้งละ 150 - 200 ใบ ตลอดอายุขัยของตัวเมีย
ประมาณ 3 เดือน วางไข่ได้  3 ครั้ง โดยชอบวางไข่ในน้ำใส่, แหล่งน้ำไหล, ลำธาร, เองน้ำตามโขด
หิน ซึ่งจะขึ้นกับอุปนิสัยของยุงก้นปล่องชนิดนั้น ๆ ช่วงเวลาการหากินของยุงก้นปล่องตัวเมียหากิน
เลือดเวลากลางคืน ตอนกลางวันชอบเกาะพักตามพุ่มไม้ ยุงก้นปล่องมีความสามารถในการบิน
โดยปกติจะบินได้ไกลประมาณ   3 ก.ม.
การป้องกันกำจัด ยุงก้นปล่อง
                1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่การถากถางริมลำธารให้กระแสน้ำไหลได้เร็ว กลมถม
แหล่งน้ำที่ไม่ประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมนี้ประชาชนในพื้นที่สามารถร่วมดำเนินการ
                2. การควบคุมระยะลูกน้ำ ซึ่งมีวิธีการควบคุมหลายวิธี ซึ่งขึ้นกับความเหมาะสมหรือความ
จำเป็น  การใช้การปล่อยปลากินลูกน้ำในแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่อง เช่นปลาหางนกยูง, ปลา
แกมบูเซีย, การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น Bacillus Thuringiensis กำจัดลูกน้ำซึ่งสารจุลินทรีย์นี้จะมีผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพราะจะไปฆ่าเฉพาะลูกน้ำยุงปลาหรือสัตว์มีชีวิตชนิดอื่นจะไม่เป็น
อันตราย, การใช้สารเคมี เช่น abate
                3. การควบคุมระยะตัวเต็มวัย ในการพ่นเคมีที่มีฤทธิ์ตกต้างตามฝาผนังบ้านเรือน เพื่อตัด
วงจรการแพร่เชื้อของยุงก้นปล่อง โดยใช้สารเคมี เช่น DDT เฟนิโทรไธออน ซึ่งดำเนินการโดยกอง
มาลาเรีย, การชุบมุ้งด้วยสารไพรีทรอย
                4. การให้สุขศึกษา ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองจากการกัดของยุงก้นปล่อง เมื่อเข้า
ไปในเขตที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย เช่น นอนในมุ้ง, ใช้ยาทากันยุง, การกินยาป้องกัน เป็นต้น
ตลอดจน เมื่อสงสัยว่าเป็นไข้มาลาเรียให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารสุข หรือมาลาเรียคลีนิค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น